พุทธศาสนสุภาษิต : ธรรมศึกษาชั้นโท

พุทธศาสนสุภาษิต ๒ : ธรรมศึกษาชั้นโท

อัตตวรรค คือ หมวดตน

๑อตฺตทตฺถํ  ปรตฺเถน   พหุนาปิ น หาปเย

อตฺตทตฺถมภิญฺญาย  สทตฺถปสุโต สิยา

บุคคลไม่ควรพล่าประโยชน์ของตน เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้มาก 

รู้จักประโยชน์ของตนแล้ว พึงขวนขวายในประโยชน์ของตน

ขุททกนิกาย ธรรมบท

๒อตฺตานญฺเจ ตถา    กยิรายถญฺญมนุสาสติ

สุทนฺโต วต ทเมถ   อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม.

ถ้าสอนผู้อื่นฉันใด พึงทำตนฉันนั้น ผู้ฝึกตนดีแล้ว ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่า ตนแลฝึกยาก

ขุททกนิกาย ธรรมบท

๓อตฺตานเมว ปฐมํ     ปฏิรูเป นิเวสเย

อถญฺญมนุสาเสยฺย  น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต

บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน สอนผู้อื่นภายหลังจึงไม่มัวหมอง

ขุททกนิกาย ธรรมบท

กัมมวรรค คือ หมวดกรรม

๑อติสีตํ อติอุณฺหํ       อติสายมิทํ  อหุ

อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต  อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว

ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยคนผู้ทอดทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่าหนาวนัก ร้อนนัก เย็นเสียแล้ว.

ทีฆกนิกาย ปาฏิกวคฺค

๒อถ ปาปานิ กมฺมานิ    กรํ  พาโล น พุชฌติ

เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ  อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ

เมื่อคนโง่มีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก เขาเดือดร้อน เพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้

ขุททกนิกาย ธรรมบท

๓ยาทิสํ วปเต พีชํ       ตาทิสํ ลภเต ผลํ

กลฺยาณการี กลฺยาณํ  ปาปการี จ ปาปกํ

บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว

สงฺยุตฺตนิกาย สคาถวคฺค

๔โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ  กตตฺโถ นาวพุชฺฌติ

อตฺถา ตสฺส ปลุชฺชนฺติ   เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา

ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน แต่ไม่รู้สึก (คุณของเขา) ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมฉิบหาย

ขุทฺทกนิกาย ชาตก สตฺตกนิปาต

๕โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ  กตตฺโถ มนุพุชฺฌติ

อตฺถา ตสฺส ปวฑฺฒนฺติ  เย โหนฺติ อภิปตฺถิตา

ผู้ใด อันผู้อื่นทำความดี ทำประโยชน์ให้ในกาลก่อน ย่อมสำนึก (คุณของเขา) ได้ ประโยชน์ที่ผู้นั้นปรารถนาย่อมเจริญ

ขุทฺทกนิกาย ชาตก สตฺตกนิปาต

๖โย ปุพฺเพ กรณียานิ  ปจฺฉา โส กาตุมิจฺฉติ

วรุณกฏฺฐํ ภญฺโชว    ส ปจฺฉา อนุตปฺปติ

ผู้ใด ปรารถนาทำกิจที่ควรทำก่อนในภายหลัง ผู้นั้น ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง ดุจมาณพ (ผู้ประมาทแล้วรีบ) หักไม้กุ่มฉะนั้น

ขุทฺทกนิกาย ชาตก เอกนิปาต

๗สเจ ปุพฺเพกตเหตุ   สุขทุกฺขํ นิคจฺฉติ

โปราณกํ กตํ ปาปํ   ตเมโส มุญฺจเต อิณํ

ถ้าประสพสุขทุกข์ เพราะบุญบาปที่ทำไว้ก่อนเป็นเหตุ

ชื่อว่าเปลื้องบาปเก่าที่ทำไว้ ดุจเปลื้องหนี้ฉะนั้น

ขุทฺทกนิกาย ชาตก ปญฺญาสนิปาต

๘สุขกามานิ ภูตานิ     โย ทณฺเฑน วิหึสติ

อตฺตโน สุขเมสาโน  เปจฺจ โส น ลภเต สุขํ

สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน

เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมไม่ได้สุข

ขุททกนิกาย ธรรมบท

๙สุขกามานิ ภูตานิ     โย ทณฺเฑน น หึสติ

อตฺตโน สุขเมสาโน  เปจฺจ โส ลภเต สุขํ

สัตว์ทั้งหลายย่อมต้องการความสุข ผู้ใดแสวงหาสุขเพื่อตน

ไม่เบียดเบียนเขาด้วยอาชญา ผู้นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข

ขุททกนิกาย ธรรมบท 

ขันติวรรค คือ หมวดอดทน

๑อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ   อตฺถาวโห ว ขนฺติโก

สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ  อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก

ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น

ผู้ที่มีขันติชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน

สวดมนต์ฉบับหลวง

๒เกวลานํปิ ปาปานํ   ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ

ครหกลหาทีนํ       มูลํ ขนติ ขนติโก

ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันเป็นต้นได้

สวดมนต์ฉบับหลวง

๓ขนฺติโก เมตฺตวา     ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวา

ปิโย เทวมนุสฺสานํ  มนาโป โหติ ขนฺติโก

ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ

ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

สวดมนต์ฉบับหลวง

๔สตฺถุโน วจโนวาทํ  กโรติเยว ขนฺติโก

ปรมาย จ ปูชาย    ชินํ ปูเชติ ขนฺติโก

ผู้มีขันติ ชื่อว่าทำตามคำสอนของพระศาสดา และผู้มีขันติชื่อว่าบูชาพระชินเจ้าด้วยบูชาอันยิ่ง

สวดมนต์ฉบับหลวง

๕สีลสมาธิคุณานํ        ขนฺติ ปธานการณํ

สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา  ขนฺตฺยาเยว วฑฺฒนฺติ เต

ขันติเป็นประธาน เป็นเหตุ แห่งคุณคือศีลและสมาธิ กุศลธรรมทั้งปวงย่อมเจริญ เพราะขันติเท่านั้น

สวดมนต์ฉบับหลวง

ตรงตามหลักสูตรแม่กองธรรมสนามหลวง

สำหรับหมวดอดทน กำให้ใช้เรียน ๕ สุภาษิตและเตรียมสอบธรรมสนามหลวง 

ปัญญาวรรค คือ หมวดปัญญา

๑อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส     พลิวทฺโทว  ชีรติ

มํสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ  ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติ

คนผู้สดับน้อยนี้ ย่อมแก่ไป เหมือนวัวแก่ อ้วนแต่เนื้อ แต่ปัญญาไม่เจริญ

ขุททกนิกาย ธรรมบท

๒ชีวเตวาปิ สปฺปญฺโญ   อปิ วิตฺตปริกฺขยา

ปญฺญาย จ อลาเภน   วิตฺตวาปิ น ชีวติ

ถึงสิ้นทรัพย์ ผู้มีปัญญาก็เป็นอยู่ได้ แต่อับปัญญาแม้มีทรัพย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้

ขุทฺทกนิกาย เถรคาถา

๓ปญฺญวา พุทฺธิสมฺปนฺโน  วิธานวิธิโกวิโท

กาลญฺญู สมยญฺญู จ  ส ราชวสตึ วเส

ผู้มีปัญญา ถึงพร้อมด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดการงานรู้กาลและรู้สมัยเขาพึงอยู่ในราชการได้

ขุทฺทกนิกาย ชาตก มหานิปาต

๔ปญฺญา หิ เสฏฺฐา กุสลา วทนฺติ

นกฺขตฺตราชาริว  ตารกานํ

สีลํ สิรี จาปิ สตญฺจ ธมฺโม

อนฺวายิกา ปญฺญวโต ภวนฺติ

คนฉลาดกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐ เหมือนพระจันทร์ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลาย 

แม้ศีลสิริและธรรมของสัตบุรุษย่อมไปตามผู้มีปัญญา

ขุทฺทกนิกาย ชาตก จตฺตาฬีสนิปาต

๕มตฺตาสุขปริจฺจาคา   ปสฺเส เจ วิปุลํ สุขํ

จเช มตฺตาสุขํ ธีโร   สมฺปสฺสํ วิปุลํ สุขํ

ถ้าพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะยอมเสียสละสุขส่วนน้อย ผู้มีปัญญาเล็งเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็ควรสละสุขส่วนน้อยเสีย

ขุททกนิกาย ธรรมบท

๖ยสํ ลทฺธาน ทุมฺเมโธ  อนตฺถํ จรติ อตฺตโน

อตฺตโน จ ปเรสญฺ จ   หึสาย ปฏิปชฺชติ

คนมีปัญญาทราม ได้ยศแล้วย่อมประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ย่อมปฏิบัติเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น

ขุทฺทกนิกาย ชาตก เอกนิปาต

๗ยาวเทว อนตฺถาย      ญตฺตํ พาลสฺส ชายติ

หนฺติ พาลสฺส สุกฺกํสํ  มุทฺธํ อสฺส วิปาตยํ

ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย มันทำสมองของเขาให้เขว ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพาลเสีย

ขุททกนิกาย ธรรมบท

๘โย จ วสฺสสตํ ชีเว     ทุปฺปญฺโญ อสมาหิโต

เอกาหํ ชีวิตํ เสยฺโย   ปญฺญวนฺตสฺส ฌายิโน

ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ดีกว่า

ขุททกนิกาย ธรรมบท 

เสวนาวรรค คือ หมวดคบหา

๑อสนฺเต นูปเสเวยฺย   สนฺเต เสเวยฺย ปณฺฑิโต

อสนฺโต นิรยํ เนนฺติ  สนฺโต ปาเปนฺติ สุคตึ

บัณฑิตไม่พึงคบอสัตบุรุษ พึงคบสัตบุรุษ เพราะอสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ

ขุทฺทกนิกาย ชาตก วีสตินิปาต

๒ตครํ  ว  ปลาเสน      โย  นโร  อุปนยฺหติ

ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติ  เอวํ  ธีรูปเสวนา

คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ก็หอมไปด้วยฉันใด การคบกับนักปราชญ์ ก็ฉันนั้น

ขุทฺทกนิกาย ชาตก วีสตินิปาต

๓น ปาปชนสํเสวี       อจฺจนฺตสุขเมธติ

โคธากุลํ กกณฺฏาว   กลึ ปาเปติ อตฺตนํ

ผู้คบคนชั่ว  ย่อมถึงความสุขโดยส่วนเดียวไม่ได้  เขาย่อมยังตนให้ประสบโทษ  เหมือนกิ้งก่าเข้าฝูงเหี้ยฉะนั้น

ขุทฺทกนิกาย ชาตก เอกนิปาต

๔ปาปมิตฺเต วิวชฺเชตฺวา    ภเชยฺยุตฺตมปุคฺคเล

โอวาเท จสฺส ติฏฺเฐยฺย  ปตฺเถนฺโต อจลํ สุขํ

ผู้ปรารถนาความสุขที่มั่นคง พึงเว้นมิตรชั่วเสีย คบแต่บุคคลสูงสุด และพึงตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน

ขุทฺทกนิกาย เถรคาถา

๕ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคน   โย นโร อุปนยฺหติ

กุสาปิ ปูติ วายนฺติ   เอวํ พาลูปเสวนา

คนห่อปลาเน่าด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาก็พลอยเหม็นเน่าไปด้วยฉันใด การคบกับคนพาลก็ฉันนั้น

ขุทฺทกนิกาย ชาตก มหานิปาต

๖ยาทิสํ กุรุเต มิตฺตํ      ยาทิสญฺจูปเสวติ,

โสปิ ตาทิสโก โหติ   สหวาโส หิ ตาทิโส

คบคนเช่นใดเป็นมิตร และสมคบคนเช่นใด เขาก็เป็นคนเช่นนั้น  เพราะการอยู่ร่วมกันย่อมเป็นเช่นนั้น

ขุทฺทกนิกาย ชาตก วีสตินิปาต

๗สทฺเธน  จ  เปสเลน  จ

ปญฺญวตา  พหุสฺสุเตน  จ

สขิตํ  หิ  กเรยฺย  ปณฺฑิโต

ภทฺโท  สปฺปุริเสหิ  สงฺคโม

บัณฑิต พึงทำความเป็นเพื่อนกับคนมีศรัทธา มีศีลเป็นที่รัก มีปัญญาและเป็นพหุสูต เพราะการสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ

ขุทฺทกนิกาย เถรคาถา

ทานวรรค หมวดทาน

วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ

การเลือกให้ อันพระสุคตทรงสรรเสริญ (ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค)

พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ 

คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน (ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท)

ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ 

ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ (ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค) 

ททมาโน ปิโย โหติ

ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก (ที่มา : อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต)

ททโต ปุญญํ ปวฑฺฒติ

เมื่อให้ บุญก็เพิ่มขึ้น (ที่มา : ทีฆนิกาย มหาวรรค)

ปาปวรรค หมวดบาป

ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย

ความสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้ (ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท) 

ปาปานํ อกรณํ สุขํ 

การไม่ทำบาป นำสุขมาให้ (ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท) 

ปาปํ ปาเปน สุกรํ 

ความชั่วอันคนชั่วทำง่าย (ที่มา : วินัยปิฎก จุลวรรค) 

นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต

บาปไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ (ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท) 

สกมฺมุนา หญญติ ปาปธมฺโม

คนมีสันดานชั่ว ย่อมลำบาก เพราะกรรมของตน (ที่มา : มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์) 

ปุญญวรรค หมวดบุญ

ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ – 

บุญอันโจรนำไปไม่ได้ (ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค)

ปุญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ 

บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต (ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท)

สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย

ความสั่งสมขึ้นซึ่งบุญ นำสุขมาให้ (ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท)

ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ 

ควรทำบุญอันนำสุขมาให้ (ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค)

ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฐฺา โหนฺติ ปาณินํ

บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า (ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค)

สติวรรค หมวดสติ

สติ โลกสฺมิ ชาคโร 

สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา 

สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

สติมโต สทา ภทฺทํ

คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค 

สติมา สุขเมธติ 

คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

สติมโต สุเว เสยฺโย 

คนมีสติ เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน (ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค)

สีลวรรค หมวดศีล

สุขํ ยาว ชรา สีลํ 

ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา (ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท)

สีลํ โลเก อนุตฺตรํ

ศีลเป็นเยี่ยมในโลก (ที่มา : ขุททกนิกายชาดก เอกนิบาต)

สํวาเสน สีลํ เวทิตพฺพํ

ศีลพึงรู้ได้เพราะการอยู่ร่วม (ที่มา : ขุททกนิกาย อุทาน)

สญฺญมโต เวรํ น จียติ

เมื่อคอยระวังอยู่ เวรย่อมไม่ก่อขึ้น (ที่มา : ทีฆนิกาย มหานิบาต)

สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี

ปราชญ์พึงรักษาศีล (ที่มา : ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ) 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *